ระบบสุริยะ

ค้นพบ อุโมงค์ระหว่างดวงดาว ทอดตัวยาวจากระบบสุริยะไปสู่กลุ่มดาวเซนทอรัส

คนบนโลกส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่า อันที่จริงแล้วเราอาศัยอยู่ในพื้นที่ของห้วงอวกาศที่มีอุณหภูมิสูง เปรียบเสมือนกับอยู่ในฟองสบู่ร้อน ซึ่งล่องลอยไปท่ามกลางห้วงอวกาศเย็นยะเยือกอันกว้างใหญ่ไพศาล โลกและระบบสุริยะของเราตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ฟองก๊าซร้อนท้องถิ่น” (Local Hot Bubble - LHB) ซึ่งล่าสุดกล้องโทรทรรศน์ที่ทรงพลังเหนืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เคยมีมา สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของฟองก๊าซร้อนเหล่านี้ และช่วยให้นักดาราศาสตร์ทำแผนที่สามมิติของมันออกมาได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยในเยอรมนีได้วิเคราะห์แผนที่สามมิติดังกล่าว และได้ค้นพบว่านอกจากจะมีฟองก๊าซร้อนใกล้โลกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่างก็มีระดับอุณหภูมิที่หลากหลายไม่เหมือนกันแล้ว...

พบน้ำบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งแรก

การค้นพบครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันขององค์การอวกาศยุโรป และ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน หรือ UCL  ที่ศึกษาดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลสเปซ ระหว่างปี 2016-2017  โดยนักวิจัยพบว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ชื่อว่า  “K2-18b”  ในกลุ่มดาวสิงโต เป็นเพียงดาวเพียงดวงเดียวเท่านั้นที่มีรูปแบบโมเลกุลของน้ำ ขณะที่แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ประเมินว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ “K2-18b” อาจมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 50 เปอร์เซนต์ แม้การค้นพบดังกล่าว...