พบน้ำบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งแรก
การค้นพบครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันขององค์การอวกาศยุโรป และ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน หรือ UCL ที่ศึกษาดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลสเปซ ระหว่างปี 2016-2017
โดยนักวิจัยพบว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ชื่อว่า “K2-18b” ในกลุ่มดาวสิงโต เป็นเพียงดาวเพียงดวงเดียวเท่านั้นที่มีรูปแบบโมเลกุลของน้ำ
ขณะที่แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ประเมินว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ “K2-18b” อาจมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 50 เปอร์เซนต์
แม้การค้นพบดังกล่าว จะเพิ่มโอกาสในการค้นพบสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่ดอกเตอร์ อิงโก วัลด์แมน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ระบุว่า ดาวเคราะห์ “K2-18b” อยู่ห่างจากโลกถึง 111 ปีแสง หรือ 1,000 ล้านล้านกิโลเมตร ซึ่งยังไกลเกินไปที่มนุษย์จะส่งยานอวกาศไปสำรวจ
ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ขณะนี้คือการรอกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่หลังปี 2020 ที่สามารถใช้ตรวจหาก๊าซในชั้นบรรยากาศของดาวดวงดังกล่าว ที่สิ่งมีชีวิตอาจปล่อยออกมา
อ้างอิง: PPTVHD36
Excellent write-up