ทักษิณ ชินวัตร พักโทษกลับ “บ้านจันทร์ส่องหล้า” อัยการสูงสุดยังไม่สั่งฟ้องคดี “ม.112”

12

สำนักงานอัยการสูงสุดแถลงความคืบหน้าการสั่งฟ้อง/ไม่สั่งฟ้อง ทักษิณ ชินวัตร คดีอาญามาตรา 112 ชี้ อัยการสูงสุดสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม นัดอดีตนายกฯ เข้าฟังคำวินิจฉัย 10 เม.ย. 2567

ภายหลังนายทักษิณ เดินทางกลับบ้านจันทร์ส่องหล้า ตามที่กรมราชทัณฑ์ให้พักโทษ วันนี้ (19 ก.พ.) ประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงถึงความคืบหน้าในอีกหนึ่งคดีความทางอาญาที่นายทักษิณยังเผชิญอยู่ คือ ความผิดคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี 2558

นายประยุทธ์ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 8.30 น. นายทักษิณ ได้เดินทางรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ซึ่งท้ายสุด สำนักงานคดีอาญาได้ให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักทรัพย์ประกัน 500,000 บาท ตามที่ อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด สั่งให้ “สอบสวนเพิ่มเติม” ตามที่นายทักษิณได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรม

“คดีนี้ยังไม่สิ้นกระแสความ อัยการสูงสุดจึงยังไม่อาจลงความเห็นหรือมีคำสั่งทางคดีได้” ประยุทธ์ กล่าว โดยจะนัดนายทักษิณให้มาพบพนักงานอัยการ เพื่อรับฟังคำวินิจฉัย วันที่ 10 เม.ย. 2567 เวลา 9.00 ณ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 สำนักงานอัยการสูงสุด

ทิศทางของคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุด มี 3 ประการ ดังนี้

  • พนักงานสอบสวนยังสอบสวนไม่ครบถ้วน ลงความเห็นคำสั่งไม่ได้ ต้องขอเวลาสอบสวนเพิ่มเติม
  • เมื่อสอบสวนครบถ้วน จนสิ้นกระแสความแล้ว อัยการสูงสุดจะวินิจฉัยและ “สั่งฟ้อง”
  • หากพิจารณาตามการสอบสวนที่เสร็จสิ้นแล้ว พิจารณาว่าไม่สมควรสั่งฟ้อง อัยการสูงสุดจะ “สั่งไม่ฟ้อง”

ต่อคำถามว่า ทำไมเมื่อได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 18 ก.พ. พนักงานสอบสวนไม่เข้าอายัดตัวนายทักษิณในทันที โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ชี้แจงว่า หลังกรมราชทัณฑ์ปล่อยตัวนายทักษิณ ได้มีพนักงานสอบสวนเข้าไปอายัด-รับตัวตามปกติ

“ตามหลักแล้วต้องนำส่งพนักงานอัยการ แต่เมื่อวานเป็นวันหยุด ทางพนักงานสอบสวนก็ให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน โดยให้สาบานตนและให้ประกันตัวไปโดยไม่มีหลักประกัน” ประยุทธ กล่าว จนกระทั่งวันนี้ นายทักษิณได้เข้ารายงานตัว และสำนักงานคดีอาญาอนุญาตให้ประกันตัว ตามที่อัยการสูงสุดสั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติม

ทั้งนี้ เขาขอให้สังคมเชื่อมั่นในกระบวนการสอบสวนว่า “ไม่ว่าจะทิศทางใดจะอธิบายได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย”

ด้าน ปรีชา สุดสงวน อธิบดีสำนักงานคดีอาญา เล่าว่า ตนเองได้นั่งสอบปากคำนายทักษิณด้วยตนเองเป็นเวลาเกือบ 30 นาที ยอมรับว่า นายทักษิณ “ป่วยวิกฤต”

“สภาพท่านตามที่ผมเห็น ผมว่าป่วยขั้นวิกฤตเลย นั่งวีลแชร์มา ผมนั่งคุยกับท่าน ท่านคุยไม่มีเสียงเลย สภาพผมดูแล้วป่วยจริง ๆ” ปรีชา กล่าว

เช้าวันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ. 2567 มีความเคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 จุด ได้แก่ บ้านจันทร์ส่องหล้า และโรงพยาบาลตำรวจ

เมื่อเวลาประมาณ 6.09 น. (18 ก.พ.) ขบวนรถของนายทักษิณ พร้อมด้วยบุตรสาว 2 คน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา คุณากรวงศ์ เคลื่อนออกจากชั้นใต้ดินของอาคารในโรงพยาบาลตำรวจ หลังจากรถบนต์เบนซ์ สีเงิน ของ น.ส.แพทองธาร เดินทางมาถึงโรงพยาบาลตำรวจเมื่อเวลา 5.08 น.

นายทักษิณ ปรากฏตัวอยู่บนรถตู้ยี่ห้อเบนซ์สีดำ โดยสวมใส่หน้ากากอนามัย เขาอยู่ในชุดเสื้อเชิ้ตลายตารางสีเขียว กางเกงขาสั้นสีดำ และมีอุปกรณ์พยุงคอ อุปกรณ์คล้องแขนด้านขวา โดยมี น.ส.แพทองธาร นั่งเคียงข้าง และ น.ส.พินทองทา นั่งอยู่ด้านหลัง

ก่อนหน้านี้ สื่อไทยหลายสำนักรายงานว่า รถตู้ของกรมราชทัณฑ์ เดินทางเข้าออกโรงพยาบาลตำรวจหลายครั้ง คาดว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เดินทางเข้ามาดำเนินการปล่อยตัวนายทักษิณ

ต่อมาเวลา 6.33 น. ขบวนรถของนายทักษิณเดินทางมาถึงบ้านจันทร์ส่องหล้า โดยรถยนต์ได้เลี้ยวเข้าบ้านทันที ไม่ได้มีการทักทายต่อสื่อมวลชนแต่อย่างใด

ภาพถ่ายของนายทักษิณที่สื่อมวลชนบันทึกได้ขณะรถยนต์อยู่หน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ไม่ปรากฏว่านายทักษิณสวมใส่กำไลอีเอ็ม (Electronic Monitoring) หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการควบคุมผู้กระทำความผิดแทนการจำคุก

บ้านจันทร์ส่องหล้า เป็นบ้านพักที่นายทักษิณเคยอาศัยระหว่างช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การเดินทางกลับในครั้งนี้ ถือเป็นการกลับมายังบ้านพักดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบอย่าง 17 ปี

นายทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับถึงไทยเป็นครั้งแรกใน 15 ปี เมื่อ 22 ส.ค. 2566 ก่อนถูกนำตัวไปยังเรือนจำพิเศษ แต่ผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่าง 22-23 ส.ค. เขาถูกนำตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ ทำให้ตลอดเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา เขาเป็นผู้ “ถูกจองจำนอกเรือนจำ” โดยไม่เคยนอนเรือนจำเลยแม้แต่วันเดียว จนกระทั่งได้รับการพักโทษ

การปรากฏตัวของนายทักษิณในวันนี้ นับเป็นการปรากฏตัวครั้งที่ 3 หลังจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย ก่อนหน้านี้ มีภาพของนายทักษิณในชุดผู้ป่วยถูกเคลื่อนย้ายภายในโรงพยาบาล เมื่อเดือน ต.ค. 2566 ซึ่งในเวลาต่อมากรมราชทัณฑ์ และนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมายืนยันว่าเป็นภาพของนายทักษิณจริง

ในวันเดียวกันที่นายทักษิณเดินทางกลับถึงประเทศไทย ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แจ้งคำพิพากษาจำคุกทักษิณรวม 8 ปี จาก 3 คดี ได้แก่ คดีสั่งการให้เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้, คดีหวยบนดิน และคดีแก้ไขสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเอื้อประโยชน์ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือโทษจำคุกเป็นเวลา 1 ปี เมื่อเดือน ก.ย. 2566

พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษ มีความตอนหนึ่งว่า “เพื่อจะได้ใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ช่วยเหลือและทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคมและประชาชน สืบไป”

ต่อมา นายทักษิณได้รับการพักโทษจากกรมราชทัณฑ์ ตามเงื่อนไขการพักโทษกรณีพิเศษ ด้วยเกณฑ์เป็นผู้ที่เจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรืออายุ 70 ปีขึ้นไป การพักโทษภายใต้เงื่อนไขนี้ ผู้รับการพักโทษ ต้องรับโทษมาแล้วเป็นเวลา 6 เดือน หรือ 1 ใน 3

ตามการเปิดเผยของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 13 ก.พ. นายทักษิณ ได้รับการพักโทษจากกรมราชทัณฑ์ พร้อมกับนักโทษอีกราว 930 คน จากการพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมการพักโทษ ตามที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์เสนอมา

บ้านจันทร์ส่องหล้า ถูกระบุให้เป็นสถานที่รับการพักโทษ ที่นายทักษิณและครอบครัวแจ้งต่อกรมราชทัณฑ์

การใช้บ้านพักเป็นสถานที่พักโทษเป็นไปตามระเบียบของราชทัณฑ์ฉบับใหม่ที่ออกมาปลายปีที่แล้ว ระเบียบดังกล่าวชื่อว่า “ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566” มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา

สาระสำคัญของระเบียบกรมราชทัณฑ์ฉบับนี้ คือการกำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่มิใช่เรือนจำ โดยเปิดทางให้คุมขังผู้ต้องขังใน “สถานที่สำหรับอยู่อาศัย” หรือ “สถานพยาบาล” ได้ โดยถือเป็นระยะเวลาจำคุก ทำให้ถูกวิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ หรือแผ่อานิสงส์ให้แก่นายทักษิณหรือไม่

12 thoughts on “ทักษิณ ชินวัตร พักโทษกลับ “บ้านจันทร์ส่องหล้า” อัยการสูงสุดยังไม่สั่งฟ้องคดี “ม.112”

  1. We stumbled over here different web page and thought I might check things
    out. I like what I see so i am just following you. Look forward
    to looking over your web page for a second time.

  2. This is very interesting, You are a very skilled blogger.

    I have joined your rss feed and look forward to seeking
    more of your wonderful post. Also, I have shared your website
    in my social networks!

  3. Люди слишком легко склонны относить идеалы некоей культуры – то
    есть оценки, чтó причислять к
    ее самым драгоценным, а в большинстве случаев и к
    самым привлекательным достижениям, – к ее чисто психологическому имуществу.
    Поначалу кажется, будто именно они и
    определяют достижения культурного пространства.
    Однако реальное развитие событий, видимо, таково:
    идеалы формируются соответственно первым успехам, ставшим возможными благодаря взаимодействию внутренних задатков людей и внешних условий культуры, а
    потом эти успехи закрепляются
    в виде идеала, развиваемого далее.
    спиральная динамика

  4. Thank you I have just been searching for information approximately this topic for a while and yours is the best I have found out so far However what in regards to the bottom line Are you certain concerning the supply

  5. It’s remarkable to visit this web site and reading the views of all mates on the topic of this post, while I
    am also zealous of getting know-how.

  6. Amazing things here. I am very glad to look your post.
    Thanks so much and I am taking a look forward to contact you.
    Will you kindly drop me a e-mail?

  7. Hi my family member I want to say that this post is awesome nice written and come with approximately all significant infos I would like to peer extra posts like this

  8. My brother suggested I might like this blog He was totally right This post actually made my day You can not imagine simply how much time I had spent for this info Thanks

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *